อุปกรณ์ตรวจวัดค่าน้ำ ที่สามารถตรวจวัดค่าได้หลากหลาย น้ำหนักเบา กะทัดรัด พกพาง่าย ชุดทดสอบสำหรับเหมาะสำหรับ บ้านที่ปลูกผักไฮโดรปอนิกส์ และห้องปฏิบัติการใช้.เหมาะสำหรับใช้ทดสอบน้ำ, สระว่ายน้ำ, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ, สปา, ไฮโดรโปนิกส์, อาหาร, ไวน์และเบียร์ทำและอื่นๆ อีกมากมาย. ช่วยทำให้ผลผลิต จาก ผัก ผลไม้ ฯลฯ ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นอีกด้วย
ค่า pH (กรด-ด่าง) ในน้ำ คือ
ความเป็นกรด-ด่างในดิน หรือของสสาร วัดกันด้วยหน่วยเป็นค่า pH ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีค่า pH อยู่ที่ 0-14 ดังนั้นหากในดินมีค่า pH เท่ากับ 7 ก็แสดงว่ามีความเป็นกรด-ด่างเป็นกลาง แต่ถ้าในดินนั้นมีค่า pH ต่ำกว่า 7 ก็แสดงว่าดินมีความเป็นกรดมาก ในทางกลับกันหากตรวจสอบแล้วค่าpH ในดินดินมีค่า สูงกว่า 7 ก็แสดงว่ามีความเป็นด่างสูง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดินมักจะมีค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3 และมีค่าความเป็นด่างอยู่ที่ 10 โดยมีปัจจัยแวดล้อมอย่างเช่น น้ำฝน หรือน้ำทะเล สภาพอากาศ ที่ผสมมากับน้ำที่เราจะต้องการวัดก็เป็นได้
ค่า TDS (total dissolve substance) คือค่าของคุณภาพน้ำ (ตามค่ามาตรฐาน)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ แบ่งชั้นคุณภาพของนํ้าเพื่อการชลประทาน จากผลของค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณเกลือที่ละลายนํ้าได้ ต่อผลผลิตพืช ดังนี้
1). นํ้าที่มีสารที่ละลายได้ทั้งหมด (total dissolve substance, TDS) น้อยกว่า 450 ppm เป็นนํ้าชลประทานที่ใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัด
2). นํ้าที่มีคุณภาพปานกลาง มีสารที่ละลายได้ทั้งหมด (total dissolve substance, TDS) 450-2,000 ppm เป็นนํ้าชลประทานมีข้อจำกัดเล็กน้อยถึงปานกลางในการนำไปใช้ โดยปลูกพืชทนเค็ม และมีระบบระบายเกลือ
3). นํ้าที่มีคุณภาพตํ่า มีสารที่ละลายได้ทั้งหมด (total dissolve substance, TDS) มากกว่า 2,000 ppm เป็นนํ้าชลประทานที่มีข้อจำกัดรุนแรงในการใช้ โดยปลูกพืชทนเค็มมาก และมีควบคุมเกลือในดิน
ค่า EC (Electric Conductivity) คือ
EC ย่อมาจากคำว่า( Electric Conductivity) หมายถึง ค่าเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว หรือค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ ในการปลูกไฮโดรโพนิกส์หมายถึงปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในของเหลว ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์
แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำ
ค่าอุณหภูมิในน้ำ คือ
การตรวจวัดอุณหภูมิน้ำ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการตายของปลา ดังนั้นควรมีการควบคุมอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง หรือตู้เลี้ยงปลา ให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับปลา เช่น ติดตั้งตาข่ายกรองแสงเพื่อลดความร้อนจากแดด ปลูกต้นไม้เพื่อเป็นร่มเงาให้แก่ปลา หรือในตู้เลี้ยงปลา หากอุณหภูมิน้ำเย็นเกินไป ควรติดตั้งหลอดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ปลา และสัตว์น้ำต่าง ๆ
ค่า DO (Dissolved Oxygen)
หมายถึง ค่าของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติในน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จะมีออกซิเจนละลายอยู่ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมต ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือดีโอ (Dissolved Oxygen: DO)โดยปกติออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้มาจากบรรยากาศและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ Dissolved Oxygen จะแปรผกผันกับอุณหภูมิ และความเข้มข้นของแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ ถ้าหากอุณหภูมิและความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำสูง จะทำให้ออกซิเจนจะละลายในน้ำได้น้อยลง
ค่า ORP (Oxidation Reduction Potential)
คือการวัดแนวโน้มของชนิดสารเคมีเพื่อรับอิเล็กตรอน (ตัวออกซิไดส์) และให้อิเล็กตรอน (ตัวรีดิวซ์) กล่าวอย่างง่ายๆคือ ORP คือชนิดของดัชนีที่แสดงถึงระดับความสามารถในการเกิดออกซิเดชันและการเกิดรีดักชัน หากความสามารถในการรีดักชัน (ต้านอนุมูลอิสระ) มีค่าสูง จะให้ค่า ORP ลดลง (เป็นลบ) แต่หากความสามารถในการออกซิเดชันมีค่าสูง จะให้ค่า ORP สูงขึ้น (เป็นบวก) โดยทั่วไปแล้ว ORP จะวัดในหน่วยมิลลิโวลต์ (mV)
ทำไมเราถึงต้องใส่ใจเกี่ยวกับค่า ORP?
เพราะว่าตัวชี้วัดค่า ORP พร้อมด้วยค่า pH จะแสดงให้เราเห็นถึงคุณภาพของน้ำที่เราดื่มหรือน้ำที่ใข้งานได้ เช่น
-น้ำที่มีประจุบวก(H+) เหมาะสำหรับฆ่าเชื้อโรค (ORP บวก,pH ต่ำกว่า7)
-น้ำดื่มที่มีอิเลคตรอนประจุลบเหมาะสำหรับบริโภค (ORP ลบ, pH มากกว่า 7)