fbpx
รู้ไว้ก่อน ชาร์จแบตต่างแดน!

รู้ไว้ก่อนชาร์จแบตต่างแดน

เพื่อน ๆหลายคนที่เคยไปต่างประเทศแล้วนั้น ก็จะทราบกันว่าหัวปลั๊กที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ไม่ได้มีแค่แบบเดียว จริงๆ แล้วหัวปลั๊กมีทั้งหมด 14 ประเภท แบ่งไปตามทวีปและประเทศบนโลกนี้ รวมถึงมีกำลังไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่เราจะเดินทางไปยังต่างแดนหรือต่างประเทศเนี่ย เราควรที่จะศึกษาเสียก่อนว่าประเทศนั้นใช้หัวปลั๊กแบบไหนกำลังไฟเท่าไหร่เพื่อเตรียมตัวแปลงและเต้ารับที่เหมาะสมติดกระเป๋าเดินทางไปด้วย

การเตรียมตัวเดินทางนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ในการเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าหากไม่ได้ศึกษาว่าหัวปลั๊กที่เรามีใช้ได้ไหมไป ถ้าหากไปหาข้างหน้าอาจจะ ไม่มีเวลาในการหา หรือไม่มีตัวเลือกในการเลือกเยอะนัก เช่น ในเวลาที่คุณต้องการใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณผ่านแอพพลิเคชั่น การใช้สายสนทนาแบบโรมมิ่งหรืออาจต้องการใช้โทรศัพท์ในการถ่ายรูป ถ้าคุณนำกล้องไปด้วยก็ต้องใช้ไฟในการชาร์จแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูปรวมไปถึงการชาร์จไฟเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหากนำไปด้วย เป็นต้น

หน้าตาของปลั๊ก Type ต่างบนโลกใบนี้

1.ปลั๊กหัวแบน สองขา (ไม่มีกราวด์) ถูกใช้เป็นหลักในทวีปอเมริกาเหนือ และ ญี่ปุ่น เรียกได้ว่าเป็นปลั๊กมาตรฐานที่ถูกใช้กันอย่างมากมายทั่วโลก แต่ก็จะมีข้อสังเกตเล็กน้อยครับ  ว่า ปลั๊ก Type A ในสหรัฐฯ ขาทั้งสองจะมีขนาดไม่เท่ากัน เสียบจึงสามารถเสียบได้เพียงด้านเดียว ในขณะที่ปลั๊ก Type A ในญี่ปุ่นมีขนาดของขาทั้งสองเท่ากัน เวลาเอาปลั๊กญี่ปุ่นไปเสียบในอเมริกาจึงสามารถเสียบได้ แต่บางครั้งถ้าเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าในอเมริกามาเสียบในญี่ปุ่น อาจจะเสียบไม่เข้า เพราะมีขาหนึ่งใหญ่กว่ารูครับ 

2. ปลั๊ก Type B คือปลั๊กหัวแบนสองขา บวกขากราวด์ กลมๆ อีกหนึ่งขา ส่วนมากใช้งานเป็นหลักในทวีปอเมริกาเหนือ และ ญี่ปุ่น (รวมถึงไทย) เช่นกัน โดยยังคงมีความแตกต่างเรื่องขนาดของขาปลั๊กระหว่างในอเมริกากับญี่ปุ่นเช่นเดียวกับ Type A

ขากราวด์ของ Type B จะมีความยาวมากกว่าอีก 2 ขาเสมอ เพื่อที่ตอนเสียบปลั๊กนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าจะถูกต่อสายดิน ให้มีสถานะเป็นกราวด์ก่อนที่ไฟจะถูกจ่ายผ่านปลั๊กนั่นเองครับ

นอกจากนี้ บริเวณขาของเครื่องใช้ไฟฟ้าปลั๊ก Type A หลายตัว จะมีรูเล็กๆ อยู่ด้วย ซึ่งจะใช้งานร่วมกับสลักภายในปลั๊ก ที่จะช่วยให้ปลั๊กเสียบได้แน่น ไม่หลุดออกจากรูง่ายๆ

3.ปลั๊กหัวกลม 2 ขา (ไม่มีกราวด์) เป็นปลั๊กเก่าแก่ที่ถูกใช้เป็นหลักในทวีปยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) โดยในหลายมาตรฐานจะเรียกปลั๊กประเภทนี้ว่า Europlug แต่ในปัจจุบัน ถูกทดแทนด้วยช่องเสียบปลั๊ก Type E, F, J, K หรือ N ไปเสียส่วนมากแล้ว (แต่ยังสามารถเอา Type C ไปเสียบกับปลั๊กทุกแบบที่กล่าวมาได้อยู่) ด้วยการรองรับแรงดันไฟที่มากกว่าแบบ C และถูกใช้แพร่หลายมากกว่า อย่างไรก็ตาม หัวปลั๊กที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากยังคงใช้ปลั๊กแบบ Type C อยู่ และยังคงเป็นปลั๊กแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบัน

4.ปลั๊กหัวกลมคู่ พร้อมขากราวด์ใหญ่ๆ เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ใน Type D ถูกใช้ในอินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล เป็นหลัก ไม่ถูกใช้ในไทยครับ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟเยอะกว่าปกติ จะใช้ปลั๊ก Type M ที่มีความคล้ายคลึงกัน และส่วนมาก Type D กับ Type M จะสามารถใช้ร่วมกันได้

5.ปลั๊กยุโรปกลายพันธุ์ มีหัวกลมคู่ กับคลิปสำหรับกราวด์ 1 ด้าน ถูกใช้ในยุโรปบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, สโลวาเกีย ฯลฯ มีความใกล้เคียงกับปลั๊กยุโรป Type F ที่ใช้เป็นมาตรฐานปัจจุบัน และส่วนมากสามารถเสียบร่วมกันได้กับ Type F

6.ปลั๊กยุโรปกลายพันธุ์ มีหัวกลมคู่ กับคลิปสำหรับกราวด์ 1 ด้าน ถูกใช้ในยุโรปบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, สโลวาเกีย ฯลฯ มีความใกล้เคียงกับปลั๊กยุโรป Type F ที่ใช้เป็นมาตรฐานปัจจุบัน และส่วนมากสามารถเสียบร่วมกันได้กับ Type F

ปลั๊กที่ถูกใช้ส่วนมากในทวีปยุโรป เช่นในเยอรมัน ออสเตรีย สเปน (รวมถึงไทยก็เสียบได้) มีลักษณะเป็นขากลมคู่ พร้อมคลิปกราวด์ทั้งสองด้าน เต้าเสียบมักจะเป็นหลุมลงไป เพื่อความปลอดภัย ข้อเสียคือเป็นปลั๊กที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เทอะทะไปเสียหน่อย ประเทศไทยเราเองก็เห็นปลั๊ก Type F นี้ใช้งานกันอยู่บ่อยๆ ครับ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ

7.ปลั๊กมาตรฐานอังกฤษ หัวสี่เหลี่ยม 3 หัว ถูกใช้ในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ฮ่องกง สิงคโปร์ บรูไน ฯลฯ มักจะใช้ร่วมกับปลั๊ก Type อื่นไม่ได้ และปลั๊กไทยที่จะเอาไปใช้ในประเทศกลุ่มที่ใช้ Type G นี้ ต้องอาศัยอะแดปเตอร์แปลงเท่านั้น ตามมาตรฐานของปลั๊ก Type G นี้จะมีฟิวส์ฝังอยู่ภายในด้วย เป็นหนึ่งในปลั๊กประเภทที่มีความปลอดภัยสูง

8.ปลั๊กประเภทพิเศษ Type H มีสามขาแบน เรียงกันเป็นสามเหลี่ยม เอียงเข้าหากัน ถูกใช้ในประเทศเดียวในโลกเท่านั้นคือ อิสราเอล ครับ แต่ปลั๊กประเภทนี้กำลังถูกใช้น้อยลงเรื่อยๆ เพราะอิสราเอลกำลังปรับไปใช้ Type C และ Type M ที่เป็นหัวกลมทดแทนแล้ว สังเกตได้จากรูปลั๊กจะสามารถเสียบได้ทั้งแบบหัวแบนและหัวกลม ซึ่งรองรับทั้ง 3 มาตรฐาน

9.ปลั๊กออสเตรเลีย Type I เป็นหัวแบน 3 ขา เอียงออกจากกันเป็นตัว V พร้อมขากราวด์ ถูกใช้ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสามารถใช้กับปลั๊กในจีนได้ด้วย ปลั๊กประเภทนี้ ถ้าเดินทางจากไทยไป ก็ต้องใช้อะแดปเตอร์แปลงเท่านั้นครับ

10. Type J ถือว่าเป็นปลั๊กอีก 1 ประเภทที่ถูกใช้น้อยมากครับ แต่ถูกใช้ในประเทศที่น่าเที่ยวอย่างสวิตเซอร์แลนด์ และ ลิกเตนสไตน์ มีลักษณะเป็นหัวกลม 3 ขา แต่มีระยะห่างของขากราวด์ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ปลั๊กหัวกลม 2 หัวใน Type C สามารถนำมาเสียบเข้ากับปลั๊ก Type J ได้เลยอย่างพอดิบพอดี ไม่ต้องใช้หัวแปลงครับ ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยหลายตัวที่เป็น Type C เวลาไปเที่ยวสวิสนี่หายห่วง ไม่ต้องใช้อะแดปเตอร์แปลงเลย

11. Type K เป็นปลั๊กยุโรปกลายพันธุ์อีกแบบ ที่มีความใกล้เคียงกับ Type F มาก แต่เปลี่ยนจากคลิปกราวด์ เป็นขากราวด์ครับ ถูกใช้ในเดนมาร์ก และ กรีนแลนด์ เป็นหลัก โดยมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่เต้าเสียบจะเหมือนหน้าคนยิ้ม เต้าเสียบปลั๊ก Type K นี้ รองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นปลั๊กแบบ Type C (หัวกลมคู่) โดยสามารถนำมาเสียบได้เลยโดยไม่ต้องผ่านอแดปเตอร์

12. Type L เป็นปลั๊กอิตาลีครับ หนึ่งในยุโรปกลายพันธุ์อีกแบบ มีลักษณะเป็นขากลม 3 ขาเรียงกันเป็นเส้นตรง โดยขาตรงกลางเป็นขากราวด์ เต้าเสียบของ Type L สามารถนำปลั๊กหัวกลมคู่อย่าง Type C และ Type F มาเสียบใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องแปลง

13.ปลั๊ก Type M หัวกลม 3 ขา โดยขากราวด์มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ถูกใช้เป็นหลักในประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศใกล้เคียง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลั๊ก Type D มาก ยกเว้นขนาดของขากราวด์ ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้า Type D หลายตัวสามารถนำมาใช้กับรูปลั๊กของ Type M ได้เลยโดยไม่ต้องผ่านอแดปเตอร์แปลง

14.ปลั๊กแบบสุดท้าย หรือ Type N นี้ เป็นปลั๊กที่ใช้ในประเทศบราซิลเป็นหลักครับ ปลั๊กหัวกลม 3 ขา ที่มีความใกล้เคียงกับ Type J แต่ขากราวด์ของ Type N อยู่ชิดกับขาหลักมากกว่าเล็กน้อย ปลั๊ก Type N สามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็น Type C มาเสียบได้เลยโดยไม่ต้องผ่านอแดปเตอร์แปลงครับ

ปลั๊กเยอะขนาดนี้ ทำอย่างไรดี?

หลังจากศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกำลังไฟและหัวปลั๊กที่สามารถนำไปใช้งานได้ในประเทศนั้น ๆ แล้ว ก่อนอื่นคุณต้องสำรวจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คุณจะนำติดตัวไปนั้นมีอะไรบ้าง มีกี่ชิ้นและใช้หัวปลั๊กแบบใด หากดูแล้วไม่สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับของประเทศนั้นได้ คุณต้องเตรียมหัวแปลงของประเทศนั้นอย่างน้อยหนึ่งอันและปลั๊กพ่วงที่มีเต้าเสียบสามารถรองรับกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณได้ เช่น หากคุณนำมือถือ กล้องถ่ายรูป และโน้ตบุคติดตัวไปด้วย ปลั๊กพ่วงที่มีสามช่องก็น่าจะเพียงพอ แต่หากประเทศที่คุณไปมีกำลังไฟมากกว่าคุณต้องเตรียมอะแดปเตอร์แปลงกำลังไฟใส่กระเป๋าไปด้วยอีก 1 ชิ้น และหากใครเดินทางบ่อยแนะนำให้ซื้อหาหัวแปลงแบบ Universal ติดไว้เลยราคาอยู่ที่ประมาณ 790 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังตัวแปลงที่เป็น 4-Port USB เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนในการชาร์จมือถือไม่ว่าที่ใดก็ตาม ซึ่งUniversal Plug Travel Adapter อย่างเดียว เท่านี้คุณก็พร้อมเดินทางถ่ายรูปได้รัวๆ แชทได้ไม่ยั้ง ไม่กลัวแบตหมดแล้วล่ะ สนใจคลิกเลย !!!